jadsadar2@hotmail.com มือถือ 080-7158480
วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับชั้น ปวช. ปี 2
(นักเรียนส่งงานผ่านเว็บไซต์คลิกเลยครับ)หรือE-mail
การใช้โปแกรม Microsoft Access (ขั้นพื้นฐาน)
เรียนรู้โครงสร้างของฐานข้อมูล Accessการทำความคุ้นเคยกับตาราง ฟอร์ม แบบสอบถาม และวัตถุอื่นๆ ในฐานข้อมูลสามารถช่วยให้การดำเนินงานต่างๆ เช่น การป้อนข้อมูลลงในฟอร์ม การเพิ่มหรือการเอาตารางออก การค้นหาและการแทนที่ข้อมูล ตลอดจนการเรียกใช้แบบสอบถาม เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นได้
ฐานข้อมูล คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหรือวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น การติดตามใบสั่งซื้อของลูกค้า หรือการเก็บรักษาคอลเลกชันเพลง ถ้าไม่มีการจัดเก็บฐานข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ หรือมีการจัดเก็บข้อมูลเพียงบางส่วนไว้ คุณสามารถติดตามข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่คุณต้องใช้ร่วมกันและจัดระเบียบ
(Microsoft Access)
โปรแกรมเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูล มีตารางเก็บข้อมูลและสร้างคิวรี่ได้
มีส่วนคอนโทลให้เรียกใช้ในรายงานและฟอร์มสร้างมาโครและโมดูล
ด้วยภาษาเบสิกเพื่อประมวลผลตามหลักภาษาโครงสร้าง หรือจะใช้เป็นเพียงระบบฐานข้อมูลให้โปรแกรมจากภายนอกเรียกใช้ซึ่งง่ายสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ในเรื่องการเขียนโปรแกรม
ผู้พัฒนาระบบฐานข้อมูลมาแล้วช่วยให้การพัฒนาระบบงานเสร็จได้อย่างรวดเร็ว
แฟ้มฐานข้อมูล ACCESS
คุณสามารถใช้ Access ในการจัดการข้อมูลทั้งหมดของคุณในแฟ้มเดียว ในแฟ้มฐานข้อมูล Access คุณสามารถใช้สิ่งต่อไปนี้
ตารางเพื่อเก็บข้อมูล
แบบสอบถามเพื่อค้นหาและเรียกใช้เฉพาะข้อมูลที่คุณต้องการ
ฟอร์มเพื่อดู เพิ่ม และปรับปรุงข้อมูลในตาราง
รายงานเพื่อวิเคราะห์หรือพิมพ์ข้อมูลในเค้าโครงที่กำหนดไว้ ฯลฯ
การเรียกใช้โปรแกรมMicrosoft Access
• คลิกที่ปุ่ม Start บนแถบงานของวินโดวส์
• ชี้ไปที่ Programs
• เลือก Microsoft Access
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
สาระสำคัญ
ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระบบงานต่าง ๆ ร่วมกันได้
โดยที่จะไม่เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
และยังสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลด้วย อีกทั้งข้อมูลในระบบก็จะถูกต้องเชื่อถือได้
และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะมีการกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลขึ้น
นับได้ว่าปัจจุบันเป็นยุคของสารสนเทศ
เป็นที่ยอมรับกันว่า สารสนเทศเป็นข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองอย่างเหมาะสม
สามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้งานด้านธุรกิจ การบริหาร
และกิจการอื่น ๆ องค์กรที่มีข้อมูลปริมาณมาก ๆ จะพบความยุ่งยากลำบากในการจัดเก็บข้อมูล
ตลอดจนการนำข้อมูลที่ต้องการออกมาใช้ให้ทันต่อเหตุการณ์
ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล
ซึ่งทำให้ระบบการจัดเก็บข้อมูลเป็นไปได้สะดวก
ทั้งนี้โปรแกรมแต่ละโปรแกรมจะต้องสร้างวิธีควบคุมและจัดการกับข้อมูลขึ้นเอง
ฐานข้อมูลจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์
การออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล จึงต้องคำนึงถึงการควบคุมและการจัดการความถูกต้องตลอดจนประสิทธิภาพในการเรียกใช้ข้อมูลด้วย
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูล (Database
System) หมายถึง
โครงสร้างสารสนเทศที่ประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันที่จะนำมาใช้ในระบบต่าง
ๆ ร่วมกัน
ระบบฐานข้อมูล
จึงนับว่าเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
ซึ่งผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลได้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้งการเพิ่ม การแก้ไข การลบ
ตลอดจนการเรียกดูข้อมูล
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการประยุกต์นำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการฐานข้อมูล
ความสำคัญของการประมวลผลแบบระบบฐานข้อมูล
จากการจัดเก็บข้อมูลรวมเป็นฐานข้อมูลจะก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้
1. สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
การเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่
ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน (Redundancy) ดังนั้นการนำข้อมูลมารวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะชาวยลดปัญหาการเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
โดยระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS) จะช่วยควบคุมความซ้ำซ้อนได้
เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูลจะทราบได้ตลอดเวลาว่ามีข้อมูลซ้ำซ้อนกันอยู่ที่ใดบ้าง
2. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้
หากมีการเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ
ที่และมีการปรับปรุงข้อมูลเดียวกันนี้
แต่ปรับปรุงไม่ครบทุกที่ที่มีข้อมูลเก็บอยู่ก็จะทำให้เกิดปัญหาข้อมูลชนิดเดียวกัน
อาจมีค่าไม่เหมือนกันในแต่ละที่ที่เก็บข้อมูลอยู่
จึงก่อใให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลขึ้น (Inconsistency)
3. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
ฐานข้อมูลจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน
ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลต่างๆ
ก็จะทำได้โดยง่าย
4. สามารถรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล
บางครั้งพบว่าการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น
เช่น
จากการที่ผู้ป้อนข้อมูลป้อนข้อมูลผิดพลาดคือป้อนจากตัวเลขหนึ่งไปเป็นอีกตัวเลขหนึ่ง
โดยเฉพาะกรณีมีผู้ใช้หลายคนต้องใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลร่วมกัน
หากผู้ใช้คนใดคนหนึ่งแก้ไขข้อมูลผิดพลาดก็ทำให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบตามไปด้วย
ในระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) จะสามารถใส่กฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่เกดขึ้น
5. สามารถกำหนดความป็นมาตรฐานเดียวกันของข้อมูลได้
การเก็บข้อมูลร่วมกันไว้ในฐานข้อมูลจะทำให้สามารถกำหนดมาตรฐานของข้อมูลได้รวมทั้งมาตรฐานต่าง
ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันได้ เช่นการกำหนดรูปแบบการเขียนวันที่
ในลักษณะ วัน/เดือน/ปี หรือ ปี/เดือน/วัน
ทั้งนี้จะมีผู้ที่คอยบริหารฐานข้อมูลที่เราเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) เป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่างๆ
6. สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้
ระบบความปลอดภัยในที่นี้
เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิมาใช้ หรือมาเห็นข้อมูลบางอย่างในระบบ ผู้บริหารฐานข้อมูลจะสามารถกำหนดระดับการเรียกใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนได้ตามความเหมาะสม
7. เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล
ในระบบฐานข้อมูลจะมีตัวจัดการฐานข้อมูลที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล
โปรแกรมต่าง ๆ อาจไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างข้อมูลทุกครั้ง
ดังนั้นการแก้ไขข้อมูลบางครั้ง
จึงอาจกระทำเฉพาะกับโปรแกรมที่เรียกใช้ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น
ส่วนโปรแกรมที่ไม่ได้เรียกใช้ข้อมูลดังกล่าว ก็จะเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลง
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ
1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational
Database)
เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (Relation)
มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือเป็นแถว (row) และเป็นคอลัมน์ (column) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์
(attribute) หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะเป็นรูปแบบของฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
ดังตัวอย่าง2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network
Database)
ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง
ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ
ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้
โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันจะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ใดแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกัน แต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย
จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
3. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hierarchical
Database)
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น
เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type) หรือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้ (Tree) ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้
คือ ระเบียน (Record) ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล (Field)
ของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นนี้คล้ายคลึงกับฐานข้อมูลแบบเครือข่าย
แต่ต่างกันที่ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น มีกฎเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งประการ คือ ในแต่ละกรอบจะมีลูกศรวิ่งเข้าหาได้ไม่เกิน
1 หัวลูกศรโปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้
โปรแกรมฐานข้อมูล
เป็นโปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่ช่วยจัดการข้อมูลหรือรายการต่าง ๆ ที่อยู่ในฐานข้อมูล
ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ การเรียกใช้ การปรับปรุงข้อมูล
โปรแกรมฐานข้อมูล จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
ซึ่งโปรแกรมฐานข้อมมูลที่นิยมใช้มีอยู่ด้วยกันหลายตัว เช่น Access, FoxPro, Clipper, dBase, FoxBase, Oracle, SQL เป็นต้น โดยแต่ละโปรแกรมจะมีความสามารถต่างกัน
บางโปรแกรมใช้ง่ายแต่จะจำกัดขอบเขตการใช้งาน บ่งโปรแกรมใช้งานยากกว่า แต่จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่า
โปรแกรม Access นับเป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้
โดยเฉพาะในระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่
สามารถสร้างแบบฟอร์มที่ต้องการจะเรียกดูข้อมูลในฐานข้อมูล
หลังจากบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
จะสามารถค้นหาหรือเรียกดูข้อมูลจากเขตข้อมูลใดก็ได้ นอกจากนี้ Access ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
โดยการกำหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลในระบบได้ด้วย
โปรแกรม FoxPro เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด
เนื่องจากใช้ง่ายทั้งวิธีการเรียกจากเมนูของ FoxPro และประยุกต์โปรแกรมขึ้นใช้งาน
โปรแกรมที่เขียนด้วย FoxPro จะสามารถใช้กลับ dBase คำสั่งและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ใน dBase จะสามารถใช้งานบน
FoxPro ได้ นอกจากนี้ใน FoxPro ยังมีเครื่องมือช่วยในการเขียนโปรแกรม
เช่น การสร้างรายงาน
โปรแกรม dBase เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลชนิดหนึ่ง
การใช้งานจะคล้ายกับโปรแกรม FoxPro ข้อมูลรายงานที่อยู่ในไฟล์บน
dBase จะสามารถส่งไปประมวลผลในโปรแกรม Word Processor ได้
และแม้แต่ Excel ก็สามารถอ่านไฟล์ .DBF ที่สร้างขึ้นโดยโปรแกรม dBase ได้ด้วย
โปรแกรม SQL เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างของภาษาที่เข้าใจง่าย
ไม่ซับซ้อน มีประสิทธิภาพการทำงานสูง
สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้โดยใช้คำสั่งเพียงไม่กี่คำสั่ง โปรแกรม SQL จึงเหมาะที่จะใช้กับระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
และเป็นภาษาหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้กันมาก โดยทั่วไปโปรแกรมฐานข้อมูลของบริษัทต่าง ๆ
ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น Oracle, DB2 ก็มักจะมีคำสั่ง SQL
ที่ต่างจากมาตรฐานไปบ้างเพื่อให้เป็นจุดเด่นของแต่ละโปรแกรมไป
ประเภท
|
ขนาด
|
ความหมาย
|
Text
|
สูงสุด 255 ตัวอักษร
|
ตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายต่างๆ
ที่ไม่ได้ใช้ในการคำนวณ |
Memo
|
สูงสุด 65,635 ตัวอักษร
|
ตัวหนังสือ หรือตัวเลขที่เป็นคำอธิบาย
หรือบักทึกที่มีความยาวมากๆ |
Number
|
1 – 8 ไบท์
|
ข้อมูลตัวเลขทั้งจำนวนเต็ม หรือทศนิยม
ที่ต้องใช้ในการคำนวณ ดังนี้
1.
Byte : ตัวเลขจำนวนเต็ม 0-255
2.
Integer : จำนวนเต็ม -32,768 ถึง
32,768
3.
Long integer : จำนวนเต็ม
4.
-2,147,483,648 ถึง 2,147,483,647
5.
Single : เก็บตัวเลขทศนิยม 7 ตำแหน่ง
6.
Double : เก็บตัวเลขทศนิยม 15 ตำแหน่ง
7.
Decimal : เก็บตัวเลขทศนิยม 28 ตำแหน่ง
|
Date/Time
|
8 ไบท์
|
วันที่และเวลาซึ่งมีรูปแบบการแสดงผลหลายแบบ
และสามารถกำหนดแบบของการแสดงผลเองได้
|
Currency
|
8 ไบท์
|
เก็บข้อมูลที่เป็นจำนวนเงิน เพื่อป้องกันเรื่องการปัดเศษทศนิยม
|
Auto Number
|
4 Byte
|
กำหนดตัวเลขที่เรียงลำดับต่อเนื่องกันโดยอัตโนมัติ โดยโปรแกรม
|
Yes/No
|
1 บิท
|
เก็บข้อมูลในรูปที่เป็นได้ 2 อย่าง
เช่น จริง/เท็จ ชาย/หญิง ถูก/ผิด |
OLE Object
|
1 GB
|
เก็บข้อมูลที่ถูกสร้างโดยโปรแกรมอื่น เช่น รูปภาพ เป็นต้น
|
Hyperlink
|
สูงสุด 2,048 ตัวอักษร
|
จุด Link
ต่างๆ
|
Lookup Wizard
|
4 ไบท์
|
ข้อมูลที่เลือกจากตารางอื่นๆ ที่สัมพันธ์กัน
|
Attachment
|
เก็บข้อมูลที่เป็นรูปภาพ
|
การเรียนการสอนการใช้โปรแกรมMicrosoft Access
อาจารย์ผู้สอนนายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ(ครูเต้ง)
นักเรียนระดับชั้น ปวช.ปี 2
วิธีเริ่มต้นการใช้โปรแกรมMicrosoft Access
โปรแกรมMicrosoft Access ชุด 2
โปรแกรมMicrosoft Access ชุด 3
โปรแกรมMicrosoft Access ชุด 4
การสร้างฟอร์มในมุมมองออกแบบ
ส่วนประกอบของตัวฟอร์ม Design Viewประกอบด้วย 5 ส่วน
การสร้างรายงาน
|
เพิ่มเขตข้อมูล Date/Time ลงในตาราง
เมื่อต้องการใช้วันที่และเวลาในฐานข้อมูล ให้คุณเริ่มต้นด้วยการสร้างเขตข้อมูล Date/Time ในตารางฐานข้อมูลของคุณอย่างน้อยหนึ่งตาราง คุณอาจเคยเห็นค่าวันที่หรือเวลา ในฟอร์มหรือรายงาน แต่ในกรณีนี้ข้อมูลดังกล่าวจะอยู่ภายในตาราง
คุณสามารถป้อนวันที่และเวลาลงในเขตข้อมูลที่ตั้งค่าชนิดข้อมูลเป็น Text หรือ Memo ได้แต่คุณจะไม่สามารถทำการคำนวณข้อมูลผลลัพธ์ใดๆ ได้ ด้วยเหตุนี้ ขั้นตอนเหล่านี้จึงอธิบายเฉพาะวิธีเพิ่มเขตข้อมูล Date/Time ลงในตารางเท่านั้น นอกจากนี้ คุณยังสามารถเพิ่มเขตข้อมูล Date/Time ลงในตารางในมุมมองแผ่นข้อมูลและมุมมองออกแบบได้ โดยขั้นตอนในส่วนต่างๆ ต่อไปนี้จะอธิายวิธีการใช้เทคนิคทั้งสองอย่าง
สร้างเขตข้อมูล Date/Time ลงในมุมมองแผ่นข้อมูล
ในบานหน้าต่างนำทาง ให้คลิกสองครั้งที่ตารางที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลง การทำเช่นนี้จะเปิดตารางนั้นในมุมมองแผ่นข้อมูล
ค้นหาเขตข้อมูล (คอลัมน์) ว่างในตาราง ตามค่าเริ่มต้น เพิ่มเขตข้อมูลใหม่ จะปรากฏในแถวส่วนหัวของเขตข้อมูลใหม่ทั้งหมด ดังนี้
คลิกสองครั้งที่แถวส่วนหัวและป้อนชื่อให้กับเขตข้อมูล Date/Tiime ใหม่ของคุณ
ในแถวแรกที่ว่างใต้ส่วนหัว ให้ป้อนวันที่หรือเวลาหรือ
บนแท็บ แผ่นข้อมูล ในกลุ่ม ชนิดข้อมูลและการจัดรูปแบบ คลิกลูกศรในรายการหล่นลงถัดจาก ชนิดข้อมูล แล้วเลือกชนิดข้อมูล
บันทึกการเปลี่ยนแปลง
สร้างเขตข้อมูล Date/Time ในมุมมองออกแบบ
ในบานหน้าต่างนำทาง ให้คลิกขวาตารางที่ต้องการเปลี่ยนแปลง แล้วคลิก มุมมองออกแบบ บนเมนูทางลัด
ในส่วนบนของตัวออกแบบตาราง ให้เลือกแถวที่ว่างอยู่
ในคอลัมน์ ชื่อเขตข้อมูล ให้ป้อนชื่อสำหรับเขตข้อมูลใหม่
เลือกคอลัมน์ ชนิดข้อมูล แล้วเลือก Date/Time จากรายการ
เขตข้อมูลใหม่ควรมีลักษณะดังนี้ แม้ว่าชื่อเขตข้อมูลจะแตกต่างกันก็ตาม
บันทึกการเปลี่ยนแปลง
การใช้งานQueryในAccess 2007
คิวรี (Query) เป็นการกรองข้อมูลที่ต้องการจากตาราง แสดงจากฐานข้อมูลที่มีข้อมูลจำนวนมากโดยแบ่งประเภทของคิวรี ดังนี้
- คิวแบบใช้เลือกข้อมูล (Select Query) ใช้สำหรับแสดงข้อมูลโดยดึงข้อมูลจากตารางเดียวหรือหลายตารางก็ได้
- คิวรีแบบตาราง (Crosstab Query) เป็นคิวรีที่ใช้สำหรับคำนวณและจัดโครงสร้างข้อมูลใหม่ โดยสามารถนำมาใช้ในการเปรียบเทียบและดูแนวโน้มของข้อมูลได้ เช่น แสดงยอดขายในแต่ละเดือน
- คิวรีพารามิเตอร์ (Parameter Query) เป็นคิวรีที่มีการแสดงไดอะล็อกบ็อกโต้ตอบโดยการใส่ค่าพารามิเตอร์เพื่อถามข้อมูลจากผู้ใช้งานเช่น ป้อนรหัสสมาชิก
- คิวรีแอคชัน (Action Query) เป็นคิวรีที่ใช้สำหรับเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
- คิวรีแบบใช้สร้างตาราง
- คิวรีแบบใช้ลบข้อมูล
- คิวรีแบบใช้ผนวกข้อมูล
- คิวรีแบบใช้ปรับปรุงข้อมูล
- คิวรีแบบ SQL เป็นคิวรีที่สร้างด้วยการใช้คำสั่งภาษา SQL
1.แสดงข้อมูลตามเงื่อนไขที่ต้องการ
2.รวมข้อมูลจากหลาย ๆ Table แล้วให้แสดงข้อมูลเพียง Table เดียว
3.แสดงข้อมูลที่เกิดจากการคำนวณ
4.จัดกลุ่มของข้อมูล
Query คืออะไร และการใช้งาน Query ใน Access 2010 |
Query เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการข้อมูล ได้แก่ การค้นหา การกรอง การจัดลำดับ และเรียงข้อมูล เป็นต้น ซึ่ง Query นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ดังนี้
1. Select Query
เป็น Query ที่ใช้ในการแสดงข้อมูล โดยสามารถแสดงได้ทั้งแบบมาตารางเดียว หรือหลายตารางก็ได้
2. Crosstab Query
เป็น Query ที่ใช้ในการคำนวณ และแสดงโครงสร้างแบบ 2 มิติ ซึ่งสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบ ดูแนวโน้มของข้อมูล เช่น การแสดงยอดขายสินค้าในแต่ละเดือน เป็นต้น
3. Action Query
เป็น Query ที่ใช้สร้าง หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลในตารางมีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด ได้แก่
- Make Table Query เป็น Query ที่ใช้ในการสร้างตาราง
- Update Query เป็น Query ที่ใช้ในการปรับปรุงข้อมูล
- Append Query เป็น Query ที่ใช้ในการเพิ่มเรคคอร์ดลงไปต่อจากเรคคอร์ดสุดท้ายที่มีอยู่
- Delete Query เป็น Query ที่ใช้ในการลบข้อมูล
4. Parameter Query
เป็น Query ที่มีการแสดงดอะล็อกบ็อกซ์โต้ตอบ ซึ่งต้องมีการใส่ค่าพารามิเตอร์ เพื่อสอบถามข้อมูลจากผู้ใช้งาน
5. SQL Query
เป็น Query ที่สร้างขึ้นจากภาษา SQL เพื่อใช้ปรับปรุง และพัฒนาฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
|
กำหนดการจัดการเรียนรู้
สัปดาห์ที่
|
สาระสำคัญ
|
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
|
เวลา/ชั่วโมง
|
1-2
|
-
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
|
ความรู้เบื้องต้นในการสร้างฐานข้อมูล
|
|
-
คำศัพท์เกี่ยวกับฐานข้อมูล
|
|||
-
ขั้นตอนการออกแบบ
|
|||
-
ชนิดของข้อมูล
|
|||
2-4
|
-
องค์ประกอบของแอ๊กเซส
|
รู้จักกับ Access 2007
|
|
-
ส่วนประกอบต่าง ๆ ในโปรแกรมแอ๊กเซส
|
|||
5-6
|
-
การสร้างไฟล์ฐานข้อมูล
|
เริ่มต้นสร้างฐานข้อมูลและตาราง
|
|
-
การสร้างตารางและฟิล์
|
|||
-
ส่วนประกอบต่าง ๆ ในโปรแกรม
|
|||
-
การใส่ข้อมูลในตาราง
|
|||
7-8
|
-
การสร้างตาราง
|
ตารางข้อมูล
|
|
-
การสร้างคีย์ให้กับตาราง
|
|||
-
การบันทึกตาราง
|
|||
-
การใส่วันที่
|
|||
-
การใช้ฟังก์ชันผลรวม
|
|||
9-10
|
-
ความหมายของคิวรี
|
สร้างแบบสอบถาม
|
|
-
การสร้างคิวรี
|
(คิวรี)
|
||
-
การบันทึกคิวรี
|
|||
11-13
|
-
ประเภทของฟอร์ม
|
การสร้างและบันทึกข้อมูลผ่านฟอร์ม
|
|
-
การสร้างฟอร์ม
|
|||
-
การบันทึกฟอร์ม
|
|||
14-15
|
-
การสร้างฟอร์มในมุมมองออกแบบ
|
การสร้างฟอร์มในมุมมองออกแบบ
|
|
-
การเปลี่ยนมุมมอง
|
|||
-
คุณสมบัติคอนโทรล
|
|||
16-17
|
-
ประเภทของรายงาน
|
นำเสนอรายงานด้วย Report
|
|
-
มุมมองของรายงาน
|
|||
-
สร้างรายงาน
|
|||
18-20
|
-
ออกแบบฐานข้อมูล
|
โครงงานคอมพิวเตอร์
|
|
-
โครงงานคอมพิวเตอร์
|
jadsadar2@hotmail.com มือถือ 080-7158480
วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับชั้น ปวช. ปี 2
การใช้โปแกรม Microsoft Access
(นักเรียนส่งงานผ่านเว็บไซต์คลิกเลยครับ) หรือE-mail
Next
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น