เป็นโปรแกรมประเภท สเปรดชีต (spreadsheet) หรือตารางคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เก็บบันทึกข้อมูลในลักษณะต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักเก็บข้อมูลประเภทการคำนวณ โดยจะเก็บข้อมูลลงในตารางสี่เหลี่ยมที่เรียกว่า เซล (Cell)ที่สามารถนำเอาเซลมาอ้างอิงใส่ในสูตร เพื่อให้โปรแกรมคำนวณหาผลลัพธ์จากข้อมูลที่บันทึกไว้ได้
Excelคือ โปรแกรม ตารางงาน หรือ Spread Sheet เป็นการทำงานลงบนแผ่นตารางที่มีทั้งแนวตั้งและแนวนอน แต่ละช่องจะมีชื่อ เพื่อง่ายต่อการป้อนข้อมูล เพื่อง่ายต่อการป้อนข้อมูล แก้ไขข้อมูลและการคำนวณ Excel ทำหน้าที่สามารถจัดการกับข้อมูลได้อย่างเป็นระเบียบยิ่งขึ้น
อาจารย์ผู้สอนนายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ (ครูเต้ง)
jadsadar2@hotmail.com
มือถือ 080-7158480
วิธีเข้าโปรแกรม Excel
1.คลิกปุ่ม Start เลือก All Programs
2.คลิกเมนู Microsoft Office
3.คลิก Microsoft Office Excel แล้วคลิก
แถบเครื่องมือ Formatting ( จัดรูปแบบ ) มีปุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการจัดรูปแบบข้อมูลในเซล เช่น เลือกฟอนต์ ขนาด หรือลักษณะ, จัดข้อมูลชิดขวา ซ้าย และการใส่สีข้อความหรือพื้น ฯลฯ
Title bar ( แถบชื่อเรื่อง)
แสดงชื่อโปรแกรมและชื่อเวิร์กบุ๊คที่ใช้งานอยู่
Menu bar ( เมนูบาร์ )
แถบเมนูคำสั่งสำหรับงานต่างๆ
Tool bar ( ทูลบาร์ )
แถบเครื่องมือที่เป็นปุ่มคำสั่งที่ช่วยให้การทำงานเร็วขึ้น
Formula bar ( แถบสูตรคำนวณ )
เป็นบริเวณที่ใช้พิมพ์สูตร,ใส่ข้อมูล,แก้ไขข้อมูลและใช้แสดงสูตรหรือข้อมูลในเซลล์
Worksheet ( แผ่นงาน )
พื้นที่ทำงานที่เราใช้กรอกข้อมูลต่างๆลงไปจะมีลักษณะเป็นช่องตารางแต่ละช่องเรียกว่า เซล
Task pane ( ทาส์กเพน )
หน้าต่างที่เราใช้แสดงคำสั่งสำหรับการทำงานบางอย่าง เช่น สร้างเวิร์กบุ๊คใหม่ แทรกรูปคลิปอาร์ต เป็นต้น
Status bar ( แถบสถานะ )
แสดงสถานะการทำงาน เช่น การกด Numlock และแสดงผลรวมจากกลุ่มตัวเลขที่เลือก
เมนูบาร์ อยู่ถัดลงมาจาก Title Bar เราใช้เมนูบาร์เพื่อบอกให้ Excel ทำงานตามที่เราต้องการ เช่น การบันทึกไฟล์ การจัดการเกี่ยวกับข้อความต่าง ๆ การจัดรูปแบบ Cell เป็นต้น ในแต่ละหัวข้อ เช่น File, Edit, View, ... เมื่อนำเมาส์ไปคลิกจะเกิดเมนูย่อย ซึ่งเราสามารถเลือกได้ โดยใช้เมาส์คลิก หรือ ใช้ปุ่มลูกศรขึ้นลง บนแป้นพิมพ์ เลื่อนแถบไปที่เมนูที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม Enter เมนูที่มีเครื่องหมาย แสดงว่า มีเมนูย่อยต่อไปอีก เมนูที่มีลักษณะสีจาง ๆ แสดงว่า ในสภาพนี้ ยังไม่สามารถใช้เมนูนี้ได้
เราสามารถกำหนดให้ Excel แสดงเมนูแบบเต็มทุกเมนู หรือแสดงเฉพาะเมนูที่ใช้บ่อย ๆ ก็ได้ การตั้งให้แสดงเมนูทุกเมนู ทำดังนี้
- ใช้เมาส์ชี้ที่ Tools
- คลิกเมาส์ 1 ครั้ง
- กดปุ่มลูกศรชี้ลง บนแป้นพิมพ์ เพื่อเลื่อนแถบสว่าง มาที่ Customize
- กดปุ่ม Enter บนแป้นพิมพ์
- ใช้เมาส์คลิกที่แถบ Options
- จะเห็น Always show full menus ให้คลิกในกล่องสี่เหลี่ยมที่อยู่หน้าข้อความนี้
- คลิกปุ่ม ปิด ( ) เพื่อปิดเมนู
สัญญลักษณ์บน Toolbars ที่ควรรู้จัก
เปิด ไฟล์ใหม่ หรือเปิด Workbook ใหม่ | |
เปิดงานที่มีอยู่แล้ว โปรแกรมจะถามหาชื่อไฟล์ และที่อยู่ | |
บันทึก หรือจัดเก็บไฟล์ ถ้าเป็นการบันทึกครั้งแรก โปรแกรมจะถามชื่อและที่อยู่ แต่ถ้าเคยบันทึกแล้ว โปรแกรมจะไม่ถามอะไรทั้งสิ้น แต่จะทำการบันทึกทันทีโดยใช้ชื่อเดิม | |
สำหรับสั่งพิมพ์ เมื่อกดปุ่มนี้ Excel จะพิมพ์ข้อความทันที ถ้าต้องการตั้งค่าต่าง ๆ ให้ใช้ File > Print เพื่อเปิดหน้าจอการพิมพ์ | |
สำหรับคัดลอกข้อความใน Cell เมื่อคลิกปุ่มนี้ Cell ปัจจุบันที่ถูกเลือก จะมีเส้นประวิ่งรอบ ๆ Cell แสดงว่า Cell นี้กำลังถูกคัดลอก ถ้าต้องการเอาเส้นประออก ให้กดปุ่ม Esc เพื่อยกเลิก | |
สำหรับ นำข้อความที่ถูกคัีดลอก หรือ copy นำมาแสดงใน Cell ใด Cell หนึ่ง เครื่องมือนี้ ทำงานร่วมกับ เครื่องมือคัดลอก () ถ้าไม่มีการคัดลอก เครื่องมือนี้ก็จะใช้ไม่ได้ สามเหลี่ยมเล็ก ๆ ข้าง ๆ มีตัวเลือกให้เลือกว่าจะนำมาแสดงอย่างไร เช่น
| |
สำหรับการรวมตัวเลขใน Cell ที่เลือก สามเหลี่ยมข้าง ๆ จะสามารถเลือกฟังก์ชั่นอย่างอื่น ๆ อีกได้ เช่น การหาค่าเฉลี่ย (Average) การนับจำนวน(Count) การหาค่าสูงสุด(Max) การหาค่าต่ำสุด(Min) และฟังก์ชั่นอื่น ๆ | |
สำหรับการเรียงข้อมูลใน Cell ที่เลือก โดยเรียงจากน้อยไปหามาก | |
สำหรับการเรียงข้อมูลใน Cell ที่เลือก โดยเรียงจากมาก ไปหาน้อย | |
สำหรับการสร้างกราฟแบบต่าง ๆ เช่น กราฟแท่ง กราฟวงกลม เป็นต้น |
Excel ได้ถูกออกแบบให้ทำงานภายใน Sheet เมื่อเปิดแฟ้ม Excel ขึ้นมาในแต่ละครั้ง Workbook ที่เปิดก็จะพบกับกระดาษแผ่นงาน (Worksheet) หลายแผ่น เรียงกันเป็น Sheet1 Sheet2 ติดต่อกันไป อยู่ในตำแหน่งซ้ายล่างของหน้าต่างโปรแกรม โปรแกรม Excel ที่ติดตั้งครั้งแรกส่วนใหญ่ได้กำหนดจำนวน Sheet ให้มีไว้ 3 Sheet กรณีที่ผู้ใช้ต้องการใช้ Sheet มากกว่าจำนวน Sheet ที่กำหนดไว้ก็ต้องมีการเพิ่ม Sheet มีวิธีที่สามารถกำหนดจำนวน Sheet ให้ Excel ตามความต้องการของผู้ใช้ได้และเมื่อไม่ต้องการให้ Sheet ปรากฏอยู่ในแฟ้มงานก็ให้ลบ Sheet นั้นออกไป
การลบ Sheet เมื่อผู้ใช้ไม่ต้องการ Sheet ที่บันทึกไว้ก็สามารถลบ Sheet ดังกล่าวนั้นได้ โดยกดเลือกแถบ Sheet ที่ต้องการลบ คลิกเมาส์ปุ่มขวาเรียกคำสั่งเมนูลัดขึ้นมา กดเลือกลบ โปรแกรมจะให้ยืนยันการลบอีกครั้ง กดปุ่ม ตกลง
ข้อควรคำนึง โดยปกติส่วนใหญ่แล้วโปรแกรม Excel จะมีการแสดงผลใน Sheet ต่าง ๆ ผู้ใช้สามารถเพิ่มจำนวน Sheet หรือลบ Sheet ออกไปได้ ควรมีจำนวน Sheet ที่จำเป็นเท่านั้น Sheet ที่ว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ ควรลบออกไป แฟ้มที่มี Sheet จำนวนมากจะส่งผลให้การเรียกแฟ้มนั้นมาใช้งานได้ช้าลงไปด้วย
การสร้างปฏิทินด้วย Excel จริง ๆ แล้วไม่ได้ใช้เทคนิคอะไรมากมายเพียงแต่เป็นการจัดการ Sheet ของแถวและสดมภ์ เทคนิค Excel ในครั้งนี้จะได้เรียนรู้ในเรื่อง การกำหนดขนาดความกว้างของแถวและสดมภ์ การซ่อนแถวและสดมภ์ การใช้เครื่องมือ การจัดรูปแบบตัววาดรูป รวมถึงการนำ Function มาใช้ในการจัดการกับแถวและสดมภ์
ในแต่ละ Sheet ของ Excel มีจำนวนสดมภ์ (Column) ทั้งหมด 256 สดมภ์ คือ A - IV ขนาดความกว้างของสดมภ์ปกติได้ตั้งค่าไว้คือ 8.43 ส่วนจำนวนแถวมีทั้งหมด 65,536 แถว (Row) คือ แถวที่ 1 - 65,526 ขนาดความกว้างของแถวปกติได้ตั้งค่าไว้คือ 21.75 ดังนั้นในแต่ละ Sheet จะประกอบด้วยเซลล์ที่เกิดจากแถวและสดมภ์มาตัดกันจากแนวนอนและแนวตั้งตามลำดับ จำนวนเซลล์จึงมีทั้งหมด = 256 x 65,526 = 16,774,656 เซลล์
ส่วนประกอบของปฏิทิน
เพื่อให้การออกแบบปฏิทินใน Sheet เป็นรูปแบบที่ดูดี เรียบร้อย ช่องเซลล์พอดีกับข้อมูลที่บันทึก มีเทคนิคประการแรกที่จะแนะนำเพื่อให้นำไปใช้ได้ กล่าวคือควรมีการวางแผนโดยการกำหนดการแสดงผลของปฏิทิน ให้พอดีใน 1 หน้ากระดาษและควรมีการตั้งค่าหน้ากระดาษไว้ก่อนล่วงหน้า (ตั้งค่าขอบกระดาษ ซ้าย ขวา บน ล่าง กระดาษแนวตั้งหรือแนวนอน เป็นต้น) และให้กรอกข้อมูลชุดแรกลงไปก่อน หลังจากนั้นให้ดำเนินการจัดขนาดความกว้างของแถวและสดมภ์
การออกแบบปฏิทินให้มีขนาดพอดีใน 1 หน้ากระดาษแนวตั้ง ในรูปที่ 9 จำเป็นต้องลดขนาดความกว้างของสดมภ์และความสูงของแถวลง ก่อนออกแบบจึงควรมีแบบของปฏิทินในภาพรวมมาเป็นแนวคิดในการจัดการก่อน กล่าวคือ ปฏิทินใน 1 หน้านี้ ควรจะมีขื่อปฏิทินปี มีเดือนทั้ง 12 เดือน วันและวันที่ มีการกำหนดให้แถวแต่ละแถวบรรจุข้อมูลของปฏิทินลงไป
การตั้งค่าความสูงของแถว
ให้ตั้งค่าดังนี้
แถวที่ 1-4 = 20 แถวที่ 5 = 9 แถวที่ 6 = 3 แถวที่ 77 = 9 แถวที่ 78 = 16
แถวที่ 7-76=16 (ตั้งค่าเป็นขนาด 16 ทั้งหมดก่อน หลังจากนั้น แถวคู่ที่ 8-76 = 3 โดยใช้ F4 ช่วย)
ให้ตั้งค่าดังนี้
แถวที่ 1-4 = 20 แถวที่ 5 = 9 แถวที่ 6 = 3 แถวที่ 77 = 9 แถวที่ 78 = 16
แถวที่ 7-76=16 (ตั้งค่าเป็นขนาด 16 ทั้งหมดก่อน หลังจากนั้น แถวคู่ที่ 8-76 = 3 โดยใช้ F4 ช่วย)
ตั้งค่าความกว้างของสดมภ์ โดยเลื่อนเมาส์ไประบายเลือกสดมภ์ที่ A-AY (คลิกเมาส์ไปยังสดมภ์ A ค้างไว้ ลากไปทางขวาจนถึงสดมภ์ AY กดเมาส์ปุ่มขวา เลือกความกว้างสดมภ์ หลังจากนั้นให้ป้อนค่าความกว้างสดมภ์ = 3 (รูปที่ 3-6) กดปุ่ม ตกลง
ตั้งค่าความกว้างของสดมภ์ตามค่าที่กำหนดไว้ด้านบน โดยใช้ F4 เป็นตัวช่วยเหลือในการใช้คำสั่งให้วนซ้ำ ให้ปฏิบัติเหมือนกับการกำหนดขนาดของแถวที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น ได้รูปแบบของแถวและสดมภ์
การผสานเซลล์
หลังจากได้มีการกำหนดค่าของแถวและสดมภ์ จนได้รูปแบบของปฏิทินเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาบ้างแล้ว
ขั้นตอนต่อไป คือการจัดแนวกลาง (ผสานเซลล์) ให้กับเดือนและปี โดยการระบายแถบทึบจาก D7:P7 กดเมาส์ปุ่มขวาเรียกคำสั่งเมนูลัดขึ้นมา เลือก รูปแบบเซลล์ เพื่อเรียกกรอบตอบโต้ในการจัดรูปแบบเซลล์พื่อเรียกกรอบตอบโต้ในการจัดรูปแบบเซลล์
ทดลองดูตัวอย่างก่อนพิมพ์
หลังจากได้วางโครงร่างของปฏิทินได้ส่วนหนึ่ง ให้ไปที่ แฟ้ม/ตั้งค่าหน้ากระดาษ ในส่วนของกรอบตอบโต้ตั้งค่าหน้ากระดาษ คลิกเลือกแถบเครื่องมือ หน้า คลิกเลือกวางแนวตั้ง อัตราส่วนให้ปรับเป็น 90 เปอร์เซ็นต์
หลังจากนั้นให้คลิกเลือก ระยะขอบ ให้ตั้งค่าดังนี้ ซ้าย = 1.4 ขวา = 0.4 บนและล่าง = 1.5 หัวและท้ายกระดาษ = 0.8 คลิกเลือกจัดกลางหน้ากระดาษ ตามแนวตั้ง กดปุ่มตกลงมื่อตั้งค่าหน้ากระดาษเสร็จแล้ว ให้ไปที่ เพื่อดูตัวอย่างก่อนพิมพ์
การซ่อนแถวและสดมภ์
ปฏิทินที่ออกแบบนี้ได้ถูกสร้างลงใน Sheet ที่มีจำนวนเซลล์หลายล้านเซลล์ เซลล์ส่วนอื่น ๆ ที่ไม่อยู่ในส่วนของปฏิทินเป็นเซลล์ที่ไม่จำเป็นและไม่ต้องนำมาใช้แสดงจึงควรมีการซ่อนเซลล์ดังกล่าวไว้ดังนี้
การซ่อนแถว ให้กดปุ่มเมาส์ไปเลือกแถวที่ 79 หลังจากนั้น กดปุ่ม Ctrl+Shift ตามด้วยปุ่มลูกศรลง คลิกเมาส์ปุ่มขวาเลือกคำสั่ง ซ่อน
การซ่อนสดมภ์ ให้กดปุ่มเมาส์ไปเลือกสดมภ์ AZ หลังจากนั้น กดปุ่ม Ctrl+Shift ตามด้วยปุ่มลูกศรขวา คลิกเมาส์ปุ่มขวาเลือกคำสั่ง ซ่อน
การสร้างเมนูโดยใช้แมโคร
การใช้งานในโปรแกรม Excel มีบางครั้งต้องเรียกคำสั่งให้โปรแกรมทำงานในลักษณะซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง ตามรูปแบบ ชั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ซึ่งก็คือชุดคำสั่งที่ได้รวบรวมไว้ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้ก็ต้องเรียกคำสั่งให้โปรแกรมทำงานในลักษณะซ้ำ ๆ กันอีก นักพัฒนาโปรแกรมจึงได้เขียนคำสั่งดังกล่าวนี้ขึ้นมาโดยเรียกว่า แมโคร (macro) เมื่อต้องการให้แมโครทำงานก็สามารถเรียกคำสั่งผ่านคีย์บอร์ดหรือกดปุ่มจากเมาส์เพียงครั้งเดียว โปรแกรมก็จะทำงานให้อัตโนมัติ เทคนิค Excel ในตอนนี้จึงเป็นการนำความสามารถของแมโคร มาใช้ในการสร้างเมนูขึ้นมา โดยการกำหนดปุ่มเพื่อกดเลือกไปยังข้อมูลที่ต้องการ
การสร้าง แมโคร
แมโครสร้างได้ 2 วิธีคือ การเขียนแมโครขึ้นมาใช้เองโดยใช้ภาษา visual basic และสร้างจาก macro recorder โดยการให้โปรแกรมบันทึกการทำงานไว้ก่อนเพื่อย้อนกลับมาใช้งานแบบอัตโนมัติภายหลัง ในการแนะนำครั้งนี้จะกล่าวถึงการสร้างแมโครแบบง่าย ๆ ทั้ง 2 วิธี
ขั้นตอนการบันทึก แมโคร
4.3.1 ก่อนการบันทึกแมโคร ต้องกำหนดแผนงานก่อนว่าจะให้แมโครบันทึกอะไร เป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับอย่างไร ในที่นี้จะให้เรียนรู้การสร้างแมโคร โดยการสร้างปุ่มในเมนูหลัก เรียก Sheet ต่าง ๆ มาปรากฏและสร้างปุ่ม กลับสู่เมนูหลัก ไปยัง Sheet ที่เป็นเมนูหลักตามเดิม พร้อมทั้งสร้างปุ่มออกจากโปรแกรม ดังนั้นแมโครที่จะบันทึกโดยสร้างจาก macro recorder มีแมโครเมนูหลัก แมโคร Sheet 1 แมโคร Sheet 2 กับแมโครออกจากโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาโดยใช้ภาษา visual basic
4.3.2 เปิดแฟ้ม Excel ขึ้นมาใหม่ ซึ่งมี Sheet อยู่ 3 Sheet กำหนดให้ Sheet 1 ที่เปิดอยู่เป็น Sheet ของเมนูหลัก ไปที่ เซลล์ B2 พิมพ์คำว่า เมนูหลัก ขั้นตอนต่อไปก็ให้กดเลือก Sheet 2 ไปที่ เซลล์ B2 พิมพ์คำว่า Sheet 2 และกดเลือก Sheet 3 ไปที่ เซลล์ B2 พิมพ์คำว่า Sheet 3
4.3.3 การบันทึกแมโครเมนูหลัก ไปที่ เครื่องมือ/แมโคร/บันทึกแมโครใหม่ (รูปที่ 4-1) กำหนดการบันทึกแมโคร หลังจากกดปุ่มเลือกบันทึกแมโครใหม่ จะปรากฏกรอบตอบโต้ให้มีการกำหนดการบันทึกแมโคร (รูปที่ 4-2) พิมชื่อ เมนูหลัก กำหนดคีย์ลัดเป็น M ที่ช่องเก็บแมโครใน ให้คลิกลูกศรลงเลือก สมุดงานนี้ ในส่วนของคำอธิบายพิมพ์ เมนูหลัก 08/01/2003 โดย สมเกียรติ ทองรักษ์ กดปุ่ม ตกลง หลังจากนี้เป็นต้นไปเมื่อผู้ใช้ไปที่ไหนหรือทำอะไรในโปรแกรม Excel ตัวโปรแกรมจะบันทึกไว้ทั้งหมดโดยจะปรากฏกรอบตอบโต้ หยุดการบันทึกเกิดขึ้น (รูปที่ 4-3) ให้กดเลือก Sheet 1 หลังจากนั้นให้กดปุ่ม แถบสี่เหลี่ยม หยุดการบันทึก เป็นการสิ้นสุดกระบวนการบันทึกแมโครเมนูหลัก
ข้อกำหนดของการบันทึกแมโคร
ชื่อแมโคร - ต้องเริ่มต้นด้วยตัวอักษรเท่านั้น
- ใช้เครื่องหมาย Underscore ( _ )
- ไม่ให้เว้นวรรคชื่อ ไม่ให้ใช้สัญญลักษณ์พิเศษ
- กำหนดชื่อได้ยาว 46 ตัวอักษร
คีย์ลัด - คีย์ลัดต้องเป็นตัวอักษรเท่านั้น โดยกำหนดให้เป็นตัวอักษรโดด
เก็บแมโครใน - สมุดงานนี้ เป็นการจัดเก็บแมโครให้ใช้งานอยู่ในสมุดงานปัจจุบันนี้
- สมุดงานแมโครส่วนบุคคล เป็นการจัดเก็บแมโครให้ใช้งานได้ในทุก ๆ สมุดงาน
- สมุดงานใหม่ เป็นการจัดเก็บแมโครให้ใช้งานในสมุดงานถัดไป
คำอธิบาย - ควรมีชื่อแมโคร วัน เดือน ปี ที่บันทึกและชื่อผู้บันทึก ฯลฯ
การเรียกใช้แมโคร
เรียกใช้งานแมโครได้ 3 วิธี ดังนี้
5.1 เรียกจากคีย์ลัด (Shortcut Key) โดยการกดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ตามด้วยตัวอักษรที่กำหนดไว้ ให้ทดลองใช้ดู แมโครที่ได้กำหนดคีย์ลัดไว้มีดังนี้
- Ctrl+M เรียกแมโครเมนูหลัก
- Ctrl+A เรียกแมโคร Sheet 2
- Ctrl+B เรียกแมโคร Sheet 3
5.2 เรียกคำสั่งให้ run โดยไปที่ เครื่องมือ/แมโคร/แมโคร หรือกดปุ่ม Alt+F8 เลือกชื่อแมโคร กดปุ่มคำสั่ง รัน ให้ทดลองเรียกคำสั่ง เลือกชื่อแมโครและรัน
5.3 เรียกจากปุ่มที่สร้างไว้ หลังจากสร้างปุ่มเสร็จแล้ว เมื่อเลื่อนเมาส์ไปยังปุ่มดังกล่าวจะเกิดสัญญลักษณ์ที่เป็นรูปมือปรากฏขึ้น เมื่อกดปุ่ม คำสั่งแมโครก็จะทำงานให้ทันที วิธีนี้สามารถเรียกใช้ได้สะดวกกว่า 2 วิธีแรก ให้ทดลองใช้ดูในปุ่ม Sheet 1 Sheet 2 และ Sheet 3
การเรียกแถบเครื่องมือฟอร์ม การสร้างปุ่มให้แมโคร เลือก Sheet 2
การสร้างแผนภูมิแบบอุณหภูมิ
การสร้างแผนภูมิเป็นการนำเสนอข้อมูลจากฐานข้อมูลที่มีอยู่มาแสดงในรูปกราฟ ซึ่งเป็นความสามารถเด่นของโปรแกรม Excel ประการหนึ่งโดยมีรูปแบบของกราฟให้เลือกใช้อย่างมากมาย และสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างหลากหลายชนิดตามความเหมาะสม สำหรับการสร้างแผนภูมิในครั้งนี้จะแนะนำการสร้างกราฟแท่งที่เป็นแบบอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นตามข้อมูลที่เพิ่มและการนำข้อมูลมาวางไว้ในกราฟนั้นด้วยฯลฯ
ฟังก์ชันที่ใช้ในการกำหนดเกรดโดยวิธีอิงเกณฑ์
การวัดประเมินผลการเรียนการสอนของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา จะใช้ผลของการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน ทั้งทางด้านการเขียน การพูด การบรรยาย การฝึกปฏิบัติ รวมถึงการทดสอบความสามารถทางด้านวิชาการเป็นผลการศึกษาที่ออกมาในรูปของการให้คะแนน และนำมากำหนดเกรดจากคะแนนที่ได้
การกำหนดเกรดโดยใช้ Excel มีหลายวิธี สำหรับการเรียนรู้การใช้งาน Excel ในการบรรยายครั้งนี้จะกล่าวถึงวิธีการนำฟังก์ชัน IF และฟังก์ชัน VLOOKUP มาใช้ในการกำหนดเกรด และจะสรุปผลจำนวนนักศึกษาและเปอร์เซ็นต์ที่ได้จากช่วงคะแนนต่ำสุดและสูงสุดในแต่ละเกรดด้วย
แนวทางการกำหนดเกรด การกำหนดเกรดสามารถทำได้ใน 2 วิธี คือกำหนดเกรดโดยอิงกลุ่มและกำหนดเกรดโดยอิงเกณฑ์ สำหรับการบรรยายในครั้งนี้จะกล่าวถึงการกำหนดเกรดโดยอิงเกณฑ์จากคะแนนและเกรดที่กำหนดไว้เป็นหลัก
รูปแบบสูตร
=VLOOKUP(เซลล์ของคะแนนที่ได้,ชื่อตารางคะแนนและเกรดที่ตั้งไว้,ลำดับที่สดมภ์ของตารางเกรด)
โปรแกรม Microsoft Excel มีความสะดวกในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะการคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร จัดว่าเป็นพื้นฐานของการคำนวณอย่างยิ่ง การคำนวณผลลัพธ์ที่มีจำนวนหลายเซลล์นั้น โปรแกรม Microsoft Excel สามารถคำนวณได้ด้วยสูตร ซึ่งมีความถูกต้องและชัดเจน
1. การคำนวณตามหลักพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1.1 การใช้เครื่องหมายคณิตศาสตร์ในโปรแกรม Microsoft Excel
|
+
|
แทน
|
การคำนวณหาผลบวก
|
-
|
แทน
|
การคำนวณหาผลลบ
|
*
|
แทน
|
การคำนวณหาผลคูณ
|
/
|
แทน
|
การคำนวณหาผลหาร
|
=
|
แทน
|
การคำนวณหาผลลัพธ์
|
1.2
กฎเกณฑ์การคำนวณ
|
- ทุกครั้งที่ต้องการคำนวณจะต้องพิมพ์เครื่องเท่ากับ (=) ก่อนทุกครั้ง
|
- เมื่อกำหนดสูตรการคำนวณเรียบร้อยแล้วให้กดแป้น Enter
|
ตัวอย่าง เช่น
คำนวณหาผลลัพธ์ที่เซลล์ A4 หาผลบวก A2+B3=A2+B3
|
หมายถึง พิมพ์เท่ากับที่เซลล์ A4 แล้วให้คลิกที่เซลล์ A2 พิมพ์เครื่องหมายบวก แล้วคลิกที่เซลล์ B3 กดแป้นEnterกรณีคำนวณจำนวนมากกว่า 2 เซลล์
สามารถทำได้เช่นกัน
|
เช่น =A2+B3+C4+D5 หมายถึง การคำนวณหาผลบวกเซลล์ A2 , B3 , C4 , D5
|
อาจารย์ผู้สอนนายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ (ครูเต้ง)
jadsadar2@hotmail.com
มือถือ 080-7158480
Harrah's Atlantic City casino review - MJH Hub
ตอบลบHarrah's 군산 출장샵 Atlantic City casino review - A look 광명 출장샵 at the 광양 출장샵 casino's games, customer support, 안동 출장샵 live casino, promotions and 의정부 출장샵 other important information. Rating: 3.5 · 2 reviews