วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีสารสนเทศ



เทคโนโลยีสารสนเทศ มัธยมศึกษาปีที่ 1
วิชาคอมพิวเตอร์
อ.เจษฎา ดิษฐสุวรรณ(ครูเต้ง)
jadsadar1@hotmail.com
โทร.080-7158480


รื่องข้อมูลและสารสนเทศ
จุดประสงค์นำทาง เมื่อศึกษาบทเรียนจบแล้วนักเรียน
        1.
อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ ได้
        2
อธิบายขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลเพื่อสารสนเทศ ได้





มัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 1
เทคนิค เขียนคำนำทำรายงาน ม.1 ครั้งที่ 1
ภาคปฎิบัติในการเรียนวิชาคอมพิว­­­­­เตอร์ ด้วย โปรกรม Microsoft Word
อาจารย์ผู้สอนนายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ ( ครูเต้ง )




มัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 1
เทคนิดแต่งภาพ ม.1 ครั้งที่ 1
ภาคปฎิบัติในการเรียนวิชาคอมพิว­­­­­­เตอร์ ด้วย โปรกรม Photo Scape
อาจารย์ผู้สอนนายเจษฎา ดิษฐสุวรรณ ( ครูเต้ง )



     ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
     ข้อมูล (Data) คือข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่สนใจศึกษา ซึ่งสามารถบันทึกไว้ได้ และมีความหมายอยู่ในตัว ข้อมูลถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบงานคอมพิวเตอร์ เนื่องจากการประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ทุกประเภท เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการออกมาหากข้อมูลที่ป้อนให้คอมพิวเตอร์ผิด ผลลัพธ์ที่ได้จากคอมพิวเตอร์ก็จะไม่มีคุณค่าอะไรเลยโดยที่ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข (Numeric) เช่น จำนวน ปริมาณ ระยะทาง หรืออาจเป็นตัวอักษรหรือข้อความ(Alphabetic) และข้อความที่เป็นตัวเลขผสมตัวอักษร (Alphanumeric) สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักข้อมูลเพียง 2 ลักษณะ คือ
        1.
ข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ (Numeric) ได้แก่ข้อมูลที่เป็นตัวเลขล้วน และจะใช้ตัวเลขนั้นในการคำนวณ
        2.
ข้อมูลที่ไม่นำมาใช้ในการคำนวณ (Character หรือ String) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร หรือข้อความที่ผสมตัวเลขหรือตัวเลขล้วน แต่ไม่นำไปใช้ในการคำนวณ เช่น อันดับที่ เลขประจำ บ้านเลขที่ หมายเลขโทรศัพท์ รหัสไปรษณีย์ เป็นต้น
    ลักษณะของ ข้อมูล และสารสนเทศ
      ปัจจุบัน เป็นยุคที่สารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของทุก คนอย่างเห็นได้ชัด และในระดับที่แทบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน อาจกล่าวได้ว่าความสำคัญของข้อมูลและใช้ข้อมูลมาตั้งแต่อดีตกาล แต่ระดับและขอบเขตของการใช้ข้อมูลสารสนเทศที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ยี่สิบ ก็อาจกล่าวได้ว่าปัจจัยหนึ่งคือวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology : IT ) ซึ่งหมายถึงเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ ระบบฐาน ข้อมูล ระบบประยุกต์สารสนเทศด้านต่าง การสื่อสารโทรคมนาคม และระบบอื่น
    แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ
     
อาจจะกล่าวได้ว่าปัจจัยพื้นฐานของกิจกรรมต่าง ของมนุษย์คือ พลังงาน วัตถุ และสารสนเทศ (Information) ปัจจัยทั้งสามนี้ทำให้มนุษย์จัดหาสิ่งต่าง ที่มนุษย์ต้องการได้ เช่น เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย การคมนาคมขนส่ง เป็นต้น และเพื่อเป็นการผลิตหรือจัดหาสิ่งต่าง ดังกล่าวนี้ สารสนเทศจัดว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งปัจจัยหนึ่ง สารสนเทศเป็นพื้นฐานของการอบรมศึกษา การปกครองประเทศของรัฐบาล การดำเนินธุรกิจ ความรอบรู้ของมนุษย์ ตลอดจนการรักษาไว้ซึ่งความรู้ที่มีอยู่และการเพิ่มพูนความรู้ ในหน่วยที่ 2 นี้จะได้กล่าวถึงความหมายของสารสนเทศ การได้มาซึ่งสารสนเทศ และการนำไปประยุกต์ใช้งานโดยลำดับไป
     ความหมายของข้อมูล และสารสนเทศ
    ข้อมูล (DATA)
     
ยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่สารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของ ทุก คนอย่างเห็นได้ชัด ข้อมูลและสารสนเทศเป็นคำที่มักใช้ควบคู่กันและบางครั้งก็ใช้ ทดแทนกัน แม้จนกระทั่งบางคนเข้าใจผิดว่า เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน ดังนั้นการอธิบายถึงความหมายของข้อมูลและสารสนเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยมีผู้ให้ความหมายเกี่ยวกับข้อมูลดังนี้
      
ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงต่าง ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เป็นกลุ่มสัญลักษณ์ แทนปริมาณหรือการกระทำต่าง ที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ข้อมูลอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวหนังสือ และท้ายสุดของข้อมูลก็คือ วัตถุดิบของสารสนเทศ
    ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เป็นกลุ่มสัญลักษณ์แทนปริมาณ หรือการกระทำต่าง ที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ หรือการประมวลผล ข้อมูล อยู่ในรูป ตัวเลข ตัวหนังสือ รูปภาพ แผนภูมิ เป็นต้น (กองแผนงาน กรมสามัญศึกษา. 2536 : 1)
ตัวอย่างของข้อมูล เช่น
      1.
ข้อมูลการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ปีการศึกษา 2546 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สระบุรีเขต 1
      2.
ข้อมูลนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เข้ามาเที่ยวในจังหวัดสระบุรี ประจำปี 2546
      3.
ความคิดเห็นของผู้ชมรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งที่มีต่อผู้แสดงในรายการนั้น ก็ทำให้ทราบถึงความคิดเห็นของผู้ชมว่าเป็นอย่างไร มีความชื่นชอบ สนใจ ติติง หรือวิพากษ์รายการโทรทัศน์นั้นอย่างไรบ้าง
      4.
ไอบีเอ็มหนุนใช้ลีนุกซ์ในเมืองไทย ดันเป็นมาตรฐานระบบเครือข่าย
      5.
ตลาดโน้ตบุ๊กแข่งเดือดเปิดตัว 1 GHz
     ข้อมูลจึงบอกเกี่ยวกับสภาพการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่ปรากฏขึ้น และข้อมูลจะคงสภาพการเป็นข้อมูลอยู่เช่นนั้น ไม่ว่าจะมีการนำเอาไปใช้หรือไม่ หรือผู้ใดเป็น ผู้นำไปใช้ ทั้งนี้ ข้อมูลอาจมีลักษณะเป็นข้อความ ซึ่งเมื่อนำมาใช้จะต้องทำการตีความหรือพิจารณาความหมายของข้อความเหล่านั้นเพื่อหาข้อสรุปเพื่อตัดสินใจต่อไป หรือข้อมูลอาจมีลักษณะเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปประมวลผลได้ โดยอาศัยวิธีหรือกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูลในระดับต่าง กันเพื่อหาข้อมูลสรุปสำหรับพิจารณาตัดสินใจต่อไป
      
สารสนเทศ (Information)
      
สารสนเทศ (information) ได้แก่ ข้อมูลต่าง ที่ได้รับการประมวลผลแล้วด้วยวิธีการต่าง เป็นความรู้ที่ต้องการสำหรับใช้ทำประโยชน์ เป็นส่วนผลลัพธ์หรือเอาท์พุตของระบบการประมวลผลข้อมูล เป็นสิ่งซึ่งสื่อความหมายให้ผู้รับเข้าใจ และสามารถนำไปกระทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งโดยเฉพาะได้ หรือเพื่อเป็นการย้ำความเข้าใจที่มีอยู่แล้วให้มีมากยิ่งขึ้น และเป็นผลลัพธ์ของระบบสารสนเทศ
สารสนเทศ (Information) คือ ข้อความรู้ที่ประมวลได้จากข้อมูลต่าง ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น จนได้ข้อสรุปเป็นข้อความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยเน้นที่การเกิดประโยชน์คือ ความรู้ที่เกิดเพิ่มขึ้นกับผู้ใช้ ข้อมูลต่างกับสารสนเทศในหลายลักษณะ ประการแรก ข้อมูลจะคงสภาพความเป็นข้อมูลอยู่เสมอ และสำหรับผู้ใช้ทุกคน กล่าวคือ ข้อมูลเป็นสิ่งบอกถึงปรากฏการณ์ในเรื่องหนึ่ง ข้อมูลจึงทำให้ทุกคนทราบเกี่ยวกับปรากฏการณ์นั้นในลักษณะเดียวกัน คือ เกิดอะไรขึ้นและเป็นอย่างไร ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้หรือไม่ก็ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสถานะของข้อมูล ข้อมูลจะยังคงเป็นเช่นนั้น แต่สำหรับสารสนเทศ การเป็นสารสนเทศมีความหมายเพิ่มเติมในลักษณะที่ว่า สารสนเทศเป็นข้อความรู้ที่ประมวลได้จากข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกมาเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้นั้น ดังนั้น หากสารสนเทศใดไม่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้ก็ย่อมถือได้ว่าไม่ใช่สารสนเทศของผู้นั้น  จะเห็นว่า สารสนเทศมีลักษณะที่อิงกับผู้ใช้และยึดตัวผู้ใช้เป็นหลักในการกำหนดสถานะของการเป็นสารสนเทศ
      สารสนเทศเป็นสิ่งที่ได้มาจากการนำข้อมูลมาประมวลผล ซึ่งมีวิธีการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งมีด้วยกันหลายวิธี ทั้งชนิดที่ใช้คนทำ หรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติที่สำคัญของสารสนเทศ ได้แก่ความถูกต้อง ความทันต่อการใช้งาน ความสมบูรณ์
สารสนเทศ คือข้อมูลต่าง ที่ได้รับการประมวลผลแล้ว ด้วยวิธีการต่าง จนได้ข้อสรุปเป็นข้อความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยเน้นที่การเกิดประโยชน์คือความรู้ที่เกิดเพิ่มขึ้นกับผู้ใช้ เป็นส่วนผลลัพธ์หรือ Output ของระบบการประมวลผลข้อมูล เป็นสิ่งซึ่งสื่อความหมายให้ผู้รับเข้าใจและสามารถนำไปกระทำกิจกรรมใด กิจกรรมหนึ่งโดยเฉพาะได้ หรือเพื่อเป็นการย้ำความเข้าใจที่มีอยู่แล้วให้มีมากยิ่งขึ้นและเป็นผลลัพธ์ของระบบสารสนเทศ
ข้อมูลต่างกับสารสนเทศในหลายลักษณะ ประการแรก ข้อมูลจะคงสภาพความเป็นข้อมูลอยู่เสมอ และสำหรับผู้ใช้ทุกคน กล่าวคือข้อมูลเป็นสิ่งที่บอกปรากฏการณ์ในเรื่องหนึ่ง ข้อมูลจึงทำให้ทุกคนทราบเกี่ยวกับปรากฏการณ์นั้นในลักษณะเดียวกัน คือเกิดอะไรเป็นอย่างไร ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้หรือไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสถานะของ ข้อมูล ข้อมูลจะยังคงเป็นข้อมูลอยู่เช่นนั้น แต่สำหรับสารสนเทศการเป็นสารสนเทศมีความหมายเพิ่มเติมในลักษณะที่ว่า สารสนเทศเป็นข้อความรู้ที่ประมวลได้จากข้อมูลเกี่ยวข้องออกมาเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้นั้น ดังนั้น สารสนเทศใดไม่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้ ก็ย่อมถือได้ว่า ไม่ใช่สารสนเทศของผู้นั้น
สารสนเทศมีลักษณะที่อิงกับผู้ใช้ และยึดตัวผู้ใช้เป็นหลักในการกำหนดสถานะของการเป็นสารสนเทศ ดังนั้นสารสนเทศจึงแปรสถานะของการเป็นสารสนเทศได้ตามผู้ใช้และเมื่อกล่าวถึงสารสนเทศจึงต้องระบุว่าเป็นสารสนเทศของใคร
      
ตัวอย่าง เช่น ในระบบการบริหารกิจการใด มักแบ่งระดับการบริหารงานออกเป็นสามระดับ ได้แก่
       1.
ผู้บริหารระดับสูงซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและวางแผนระยะยาว
       2.
ผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการวาระยะปานกลางและดำเนินการเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามแผนระยะยาวที่กำหนดไว้ และ
       3.
ผู้บริหารระดับต้นซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการวางแผนระยะปานกลางและดำเนินงานให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้
สารสนเทศจากข้อมูลภายในกิจการมักจะอยู่ในรูปที่สรุปมากที่สุด เช่น ในลักษณะของปัจจัยบ่งชี้ความสำเร็จของกิจการ หรือดัชนีแสดงผลการดำเนินงาน เช่น สภาพตลาดโลก ตลาดภูมิภาค และแนวโน้มต่าง ๆด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และกฎหมาย ที่จะมีผลต่อการดำเนินงานในอนาคต และมีผลต่อการพิจารณาตัดสินใจในปัจจุบัน ดังนั้น สารสนเทศของผู้ใช้ผู้หนึ่ง จึงอาจไม่ใช่สารสนเทศของผู้ใช้อีกผู้หนึ่ง การระบุสถานะของสารสนเทศจึงต้องระบุว่าเป็นสารสนเทศของผู้ใช้ใด
ประเด็นสำคัญในเรื่องสารสนเทศ คือสารสนเทศสร้างขึ้นจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยการนำข้อมูลนั้นมาประมวลและวิเคราะห์ออกมาเป็นสารสนเทศ ดังนั้น คุณภาพของสารสนเทศจึงขึ้นอยู่กับข้อมูลที่นำมาพิจารณาว่าเป็นข้อมูลที่เหมาะสมและเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพดี คือ มีความถูกต้องเชื่อถือได้ รวมทั้งกระบวนการประมวลผลและวิเคราะห์ที่ต้องการ นอกจากมีความเชื่อถือได้แล้ว สารสนเทศที่ดีจะต้องตรงต่อความต้องการของผู้ใช้
     ข้อมูลและสารสนเทศในความหมายของผู้ใช้
      
ผู้ใช้ข้อมูลและสารสนเทศแต่ละคน มีความรับรู้ต่อข้อมูลและสารสนเทศเดียวกันแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น ในการดำเนินงานเกี่ยวกับใบสั่งซื้อสินค้าขององค์การหนึ่ง     พนักงานแต่ละคนก็จะมีความรับผิดชอบที่แตกต่างกันไป ซึ่งใบสั่งซื้อสินค้าจะมีคุณค่าต่อผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันออกไปตามหน้าที่ที่ผู้ใช้ต้องปฏิบัติ ดังนี้
พนักงานขาย จะถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าที่ได้จากลูกค้าเป็นสารสนเทศของเขา ผู้จัดการฝ่ายขาย จะถือว่ารายงานเกี่ยวกับใบสั่งซื้อสินค้า หรือปริมาณยอดขายเป็นสารสนเทศของเขาพนักงานบัญชี จะถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าเป็นข้อมูลชนิดหนึ่งเท่านั้น จนกระทั่งใบสั่งซื้อสินค้านี้ได้ถูกดำเนินการต่อไปเพื่อให้ได้ใบส่งของสำหรับนำไปเก็บเงินจากลูกค้า และนำมาลงบัญชีต่อไป สารสนเทศของเขาก็จะได้แก่ บัญชีลูกหนี้ บัญชีเงินสดและรายรับจากการขายสินค้า ซึ่งเกิดจากข้อมูลในใบสั่งซื้อ
พนักงานอื่น อาทิ ลูกจ้างรายวัน นักวิจัย วิศวกร จะถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าเป็นเพียงข้อมูลอย่างหนึ่ง     ที่เขาไม่ต้องสนใจหรือเกี่ยวข้องด้วย
อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ค่าแรงของลูกจ้างต่อสัปดาห์ ถือว่าเป็นสารสนเทศของลูกจ้างแต่ละคนที่จะรับค่าแรงนั้น แต่จะเป็นข้อมูลอย่างหนึ่งของเจ้าของบริษัทหรือผู้บริหาร ซึ่งเมื่อได้รวมเป็นค่าแรงทั้งหมด ที่ต้องจ่ายใน 1 สัปดาห์แล้ว จึงจะถือว่าเป็นสารสนเทศสำหรับเขา
      โดยสรุปสารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเปลี่ยนแปลง หรือจัดกระทำเพื่อผลของการ เพิ่มความรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้ ลักษณะของสารสนเทศจะเป็นการรวบรวมข้อมูลหลาย อย่างที่เกี่ยวข้องกันเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ
      1.
ข้อมูล เป็นตัวเลข ข้อความ เสียงและภาพ เป็นข้อมูล ป้อนเข้า
      2.
การประมวลผล เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูลจัดกระทำข้อมูล เพื่อให้เหมาะสม ต่อการนำไปใช้
      3.
การจัดเก็บ เป็นวิธีการที่จะเก็บข้อมูลให้เป็นระบบที่สะดวกต่อการใช้ และสามารถแก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน
      4.
เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูล การประมวลผลทำให้เกิดผลผลิต ได้แก่ คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป อุปกรณ์การสื่อสาร ฯลฯ
      5.
สารสนเทศ ผลผลิตของระบบสารสนเทศจะต้องถูกต้องตรงกับความต้องการใช้ และทันต่อเหตุการณ์ใช้งาน
    แหล่งข้อมูล
      ข้อมูลที่นำมาใช้ประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ เกิดขึ้นมาจาก 2 แหล่งคือ แหล่งข้อมูลภายในองค์การ และแหล่งข้อมูลจากภายนอกองค์การ
        1.
แหล่งข้อมูลภายในองค์การ ในหน่วยงานต่างๆ ขององค์การ แหล่งข้อมูลจะประกอบด้วยข้อมูลของพนักงานในองค์การและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงต่าง ขององค์การ เช่น ประสิทธิภาพในการทำงานของลูกจ้าง ความถูกต้องของการวางแผนครั้งที่ผ่านมา เป็นต้น ซึ่งการได้มาของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายในนี้ อาจจะได้จากวิธีการที่ไม่เป็นทางการ เช่น การพบปะพูดคุยกัน เป็นต้น
        2.
แหล่งข้อมูลภายนอกองค์การ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดข้อมูลเอง หรือแหล่งกระจายข้อมูลที่มีในสังคม แหล่งข้อมูลเหล่านี้ได้แก่ ตัวลูกค้า บริษัทขายส่งสินค้า บริษัทคู่แข่งขัน หนังสือวารสารทางธุรกิจ สมาคมต่าง หรือหน่วยงานของรัฐ เป็นต้น ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ ยอดรวมของการบริโภคสินค้าแต่ละปี หรืออัตราการเจริญเติบโตของประชากร ฯลฯ
        
ข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลทั้งสองนี้ อาจจะแยกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลที่ต้องเก็บรวบรวมหรือบันทึกมาจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น การสำรวจข้อมูลทางการตลาด ด้วยวิธีออกแบบสอบถามและสัมภาษณ์ เป็นต้น ข้อมูลประเภทนี้เรียกว่า ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) ส่วนประเภทหลังได้แก่ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจากข้อมูลที่ได้มีการรวบรวมไว้แล้ว เช่น สถิติเกี่ยวกับการบริโภคสินค้าเศรษฐกิจของประชาชน ซึ่งออกโดยหน่วยงานของรัฐ เป็นต้น ข้อมูลประเภทนี้เรียกว่า ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data)
      คุณสมบัติของข้อมูล
       
การจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องมีความพยายามและตั้งใจดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการระบบ ข้อมูลจึงต้องคำนึงถึงปัญหาต่าง สามารถดำเนินการได้ ให้มีประสิทธิภาพผลที่คุ้มค่ากับการลงทุน   ดังนั้นการดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดี     ข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน ดังนี้
       1.
ความถูกต้อง หากการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสีย อย่างมาก ดังนั้น โดยโครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีดำเนินการเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด
       2.
ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน ต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ มีคำตอบสนองต่อผู้ใช้ได้เร็ว ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการได้ การออกแบบระบบ การเรียกค้น และรายงานตามความต้องการของผู้ใช้
       3.
ความสมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นอยู่กับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการปฏิบัติด้วย  ในการดำเนินการจัดการสารสนเทศต้องสำรวจ และสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม
       4.
ความชัดเจนและกะทัดรัด การเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการ จัดเก็บมากจึงจำเป็นต้องออกแบบระบบโครงสร้าง ข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้ มีการใช้รหัสหรือย่นย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อจะจัดการเก็บเข้าไว้ได้ในระบบคอมพิวเตอร์
       5.
ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์การ ดูสภาพการใช้ข้อมูล ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ
                                                    เรื่อง  เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนิดมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนิดบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนังถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา

นักเรียนลองจินตนาการดูว่า นักเรียนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านใดบ้างจากตัวอย่างต่อไปนี้ เมื่อตื่นนอนนักเรียนอาจได้ยินเสียงจากวิทยุ ซึ่งกระจายเสียงข่าวสารหรือเพลงไปทั่ว นักเรียนใช้โทรศัพท์สื่อสารกับเพื่อน ดูรายการทีวี วีดีโอเมื่อมาโรงเรียนเดินทางผ่านถนนที่มีระบบไฟสัญญาณที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ถ้าไปศูนย์การค้า ขึ้นลิฟต์ ขึ้นบันไดเลื่อนซึ่งควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ที่บ้านนักเรียน นักเรียนอาจอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศที่ควบคุมอุณหภูมิโดยอัตโนมัติ คุณแม่ทำอาหารด้วยเตาอบซึ่งควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า จะเห็นว่าชีวิตในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอันมาก อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบในการทำงาน

ในอดีตยุคที่มนุษย์ยังเร่ร่อน มีอาชีพเกษตรกรรม ล่าสัตว์ ต่อมามีการรวมตัวกันสร้างเมือง และสังคมเมืองทำให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิต การผลิตทำให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตจำนวนมาก สังคมจึงเป็นสังคมเมืองที่มีอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่หลังจากปี พ.. 2530 เป็นต้นมา ระบบสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ามาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศ ชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก การสื่อสารโทรคมนาคมกระจายทั่วถึง ทำให้ข่าวสารแพร่กระจ่ายไปอย่างรวดเร็ว สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมไร้พรมแดนเพราะเรื่องราวของประเทศหนึ่งสามารถกระจายแพร่ออกไปยังประเทศต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
นิยามเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นคำที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา ลองนึกดูว่าทรายที่เราเห็นอยู่บนพื้นดิน ตามชายหาด ชายทะเลเป็นสารประกอบของซิลิกอน ทรายเหล่านั้นมีราคาต่ำและเรามองข้ามไป ครั้งมีบางคนที่เรียนรู้วิธีการแยกสกัดเอาสารซิลิกอนให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์ และไอซี (Integrated Circuit : IC) ไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้เป็นชิปซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ สารซิลิกอนดังกล่าวเมื่อผ่านกรรมวิธีทางเทคโนโลยีแล้วจะมีราคาสูงสามารถนำมาขายได้เงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพราะเรานำเอาวัตถุดิบมาผ่านเทคนิคการดำเนินการ จะได้วัตถุสำเร็จรูป สินค้าเหล่านี้จะมีมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบนั้นมาก ประเทศใดมีเทคโนโลยีมากมักจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เทคโนโลยีจึงเป็นหาทางที่จะช่วยในการพัฒนาให้สินค้าและบริการมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทุกประเทศจึงให้ความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยงานด้านต่าง ๆ
ส่วนคำว่าสารสนเทศ หมายถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ

ภายในสมองมนุษย์ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลไว้มากมายจะมีข้อจำกัดในการจัดเก็บ การเรียกใช้ การประมวลผล และการคิดคำนวณ ดังนั้นจึงมีผู้พยายามสร้างเครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำได้มาก สามารถให้ข้อมูลได้แม่นยำและถูกต้องเมื่อมีการเรียกค้นหา ทำงานได้ตลอดวันไม่เหน็ดเหนื่อย และยังส่งข้อมูลไปได้ไกลและรวดเร็วมาก เครื่องจักรอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสารสนเทศนั้นมีมากมายตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ ทำให้เกิดงานบริการที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การฝากถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) การจองตั๋วดูภาพยนตร์ การลงทะเบียนเรียนในโรงเรียน
เมื่อรวมคำว่าเทคโนโลยีกับสารสนเทศเข้าด้วยกัน จึงหมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวางมาก นักเรียนจะได้พบกับสิ่งรอบ ๆ ตัวที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอยู่มาก ดังนี้
1      การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ นักเรียนอาจเห็นพนักงานการไฟฟ้าไปที่บ้านพร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ในการสอบแข่งขันที่มีผู้สอบจำนวนมาก ก็มีการใช้ดินสอระบายตามช่องที่เลือกตอบ เพื่อให้เครื่องอ่านเก็บรวบรวมข้อมูลได้ เมื่อไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าก็มีการใช้รหัสแท่ง (bar code) พนักงานจะนำสินค้าผ่านการตรวจของเครื่องเพื่ออ่านข้อมูลการซื้อสินค้าที่บรรจุในรหัสแท่ง เมื่อไปที่ห้องสมุดก็พบว่าหนังสือมีรหัสแท่งเช่นเดียวกันการใช้รหัสแท่งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บรวบรวม wbr > wb
2       การประมวลผล ข้อมูลที่เก็บมาได้มักจะเก็บในสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี หรือเทป เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาประมวลผลตามต้องการ เช่น แยกแยะข้อมูลเป็นกลุ่ม เรียงลำดับข้อมูล คำนวณ หรือจัดการคัดแยกข้อมูลที่จัดเก็บนั้น

3       การแสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมาก สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นรูปภาพ ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ เป็นเสียง เป็นวีดิทัศน์ เป็นต้น

4         การทำสำเนา เมื่อมีข้อมูลที่จัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิคส์ต่าง ๆ การทำสำเนาจะทำได้ง่าย และทำได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นอุปกรณ์ช่วยในการทำสำเนา จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เรามีเครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร อุปกรณ์การเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิคส์ เช่น จานบันทึก ซีดีรอม ซึ่งสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก
5         การสื่อสารโทรคมนาคม เป็นวิธีการที่จะส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือกระจายออกไปยังปลายทางครั้งละมาก ๆ ปัจจุบันมีอุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคมหลายประเภท ตั้งแต่โทรเลข โทรศัพท์ เส้นใยนำแสง เคเบิลใต้น้ำ คลื่นวิทยุไมโครเวฟ ดาวเทียม เป็นต้น
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
1         เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
2         เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
3         เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
4         เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่างๆ   เป็นต้น
ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การกำเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่ยุคสารสนเทศ ในช่วงแรกมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณ แต่ต่อมาได้มีความพยายามพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการจัดการข้อมูล เมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์ได้ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น สภาพการใช้งานจึงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมจึงมีมาก มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมกล่าวได้ดังนี้
1         การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น
2        เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอการการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่ใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร
3         สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน     มากขึ้น
4        เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำ    ต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย         ที่เรียกว่าโทรมาตร เป็นต้น
5         เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน
6         การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป


             รวบรวมจาก หนังสือเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน


เทคโนโลยีสารสนเทศ มัธยมศึกษาปีที่ 1
วิชาคอมพิวเตอร์
อ.เจษฎา ดิษฐสุวรรณ(ครูเต้ง)
โทร.080-7158480


                                                                          Next